http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209 ได้รวบรวมไว้ว่า ผู้วิจัยต้องแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐานและเข้าใจในปัญหาที่กำลังจะศึกษาอย่างชัดเจนทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ สามารถระบุถึงความสำคัญของปัญหา ความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ที่จะได้รับอย่างมีเหตุผล ระบุได้ว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือไม่ มีที่ใดบ้าง และการศึกษานี้จะช่วยเพิ่มคุณค่าได้อย่างไร
การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะ ศึกษา จากประสบการณ์ของตัวผู้วิจัย จากข้อมูลในรายงานวิจัยของผู้อื่นที่ทำมาแล้ว นำสิ่งเหล่านี้มาสร้างแนวคิด ( conceptualization ) ในการเจาะปัญหาที่สำคัญ และวางขอบเขต (framework) ของปัญหาสำหรับทำวิจัย
การกำหนดปัญหาในการทำวิจัย จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลมาประกอบในการพิจารณา ข้อมูลเหล่านี้อาจมาจากทฤษฎีหรือแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะ ศึกษา จากประสบการณ์ของตัวผู้วิจัย จากข้อมูลในรายงานวิจัยของผู้อื่นที่ทำมาแล้ว นำสิ่งเหล่านี้มาสร้างแนวคิด ( conceptualization ) ในการเจาะปัญหาที่สำคัญ และวางขอบเขต (framework) ของปัญหาสำหรับทำวิจัย
ยุทธ ไกยวรรณ์ (2552:21)กล่าวว่า คือ การนำเสนอสภาพและปัญหาของการวิจัยจะเป็นกระบวนการกล่าวสภาพ ทั่ว ๆ ไป ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย กล่าวถึงปัญหาของการวิจัยว่า มีปัญหาอะไร ทำไมถึงต้องทำการวิจัยเรื่องนี้ โดยกล่าวอ้างถึง สภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของเหตุการณ์และปัญหาที่ต้องทำการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องอ้างถึงที่มา แห่งเหตุการณ์หรือปัญหานั้น ๆ ว่าผู้วิจัยนำมาจากแหล่งใด ผู้วิจัยจะนำเสนอจากกว้างไปหาแคบ โดยเนื้อหาที่จะนำเสนอประกอบด้วย
1. สภาพทั่ว ๆ ไปที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย
2. ปัญหาการวิจัย
3. ความสัมพันธ์ที่บ่งบอกว่า ทำไมผู้วิจัยสนใจเรื่องนี้
4. นำเข้าสู่หัวข้อการวิจัยในตอนท้ายของการนำเสนอภูมิหลัง
5. กล่าวถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทำวิจัยเรื่องนี้
www.nrru.ac.th/rdi/km/wp-content/.../sim2.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า
1. แนวในการเขียนแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1.1 เริ่มจากจากสภาพปัจจุบันของสิ่งที่จะวิจัย
1.2 ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับสิ่งที่จะวิจัย
1.3 แนวทาง หรือ หลักการที่จะแก้ปัญหานั้น
2. ตรงประเด็น และชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย ไม่ควรเขียนเยินเยอ และนอกเรื่อง เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้เขวได้
3. มีข้อมูลอ้างอิง เพื่อความน่าเชื่อถือ การมีข้อมูลอ้างอิงจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่า และบางครั้งทำให้การเขียนมีความสละสลวย มีเหตุมีผล
4. มีความต่อเนื่องกัน ในแต่ละย่อหน้าผู้เขียนต้องเขียนให้ต่อเนื่องกัน ห้ามเขียนวกไปวนมา โดยต้องยึดหลักการเขียนตามข้อ1
5. สรุปเหตุผลที่ผู้วิจัยจะศึกษา ในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย
หลักการเขียน
แสดงเหตุผลให้เห็นว่าเรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญและจำเป็น หรือจูงใจอย่างมากจนถึงขนาดที่ทำให้ผู้ศึกษาหรือคณะผู้ศึกษาสนใจและได้ตัดสินใจเลือกศึกษาเรื่องนี้ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นความพยายามของผู้ศึกษาที่จะเขียนเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกว่าเรื่องที่ศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ น่าสนใจ และต้องการอ่านต้องการติดตาม
เป็นการนำเสนอสภาพปัญหาที่จะทำวิจัยโดยเป็นสภาพทั่วๆ ไปของเหตุการณ์ในปัจจุบัน ผู้นำเสนอต้องอ้างจากกว้างไปหาแคบ หรือมาจากความสนใจประสบการณ์ของผู้วิจัยเองที่สนใจเพื่อหาเรื่องราวคำตอบและข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเอง หรือเกิดจากข้อสงใสต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบๆตัวผู้วิจัย แหล่งที่มานั้นอาจได้มาจากผู้ที่จะทำวิจัยเองผู้ใกล้ชิดหรือเพื่อนร่วมงานในที่ทำงานประจำ จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
http://www.learners.in.th/blogs/posts/450209 เข้าถึงเมื่อ 14/12/55 เวลา 18:48 น.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2550). หลักการทำวิจัยและการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น