บุญชม ศรีสะอาด (2554:14) ได้รวบรวมไว้ว่า ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น “ประสิทธิผลของการใช้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันกับทหารในศูนย์ฝึกทหารใหม่ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ 2547” ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 2547” นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
1. ความสนใจของผู้วิจัยควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
2. ความสำคัญของเรื่องที่จะทำวิจัยควรเลือกเรื่องที่มีความสำคัญ และนำไปใช้ปฏิบัติหรือสร้าแนวความคิดใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านเวชศาสตร์ครอบครัวหรือเชื่อมโยงกับระบบสุขภาพ
3. เป็นเรื่องที่สามารถทำวิจัยได้เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทำวิจัยได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่นด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
4. ไม่ซ้ำซ้อนกับงานวิจัยที่ทำมาแล้วซึ่งอาจมีความซ้ำซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทำการวิจัย ระยะเวลาที่ทำการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย
สรุป
ไพทูรย์ เวทการ (2540 : 45 ) กล่าวว่า ชื่อเรื่องที่จะวิจัยจะต้องตรงกับปัญหาที่จะศึกษา มีความชัดเจนทางด้านภาษา ผู้อ่านเห็นแล้วสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าจะทำอะไร ไม่ต้องตีความอีก ในที่นี้มีข้อเสนอแนะในการตั้งชื่อเรื่องวิจัย ซึ่งประมวลจากประสบการณ์ในการศึกษางานวิจัย ดังนี้
1. ตั้งชื่อเรื่องโดยใช้ภาษาง่าย สั้น กระซับ และชัดเจน ครอบคลุมปัญหาที่จะวิจัย
2. ชื่อเรื่องต้องสามารถบอกได้ว่าเป็นการศึกษาอะไร กับใคร หรือของใคร ที่ไหน (ถ้าเกี่ยวข้องกับสถานที่) หรือเมื่อไร (ถ้าเกี่ยวข้องกับเวลา)
3. ชื่อเรื่อง ต้องไม่ยาวจนดูฟุ่มเฟือย อ่านแล้วเข้าใจยาก หรือจับประเด็น
4. ชื่อเรื่อง ต้องไม่สั้นจนเกินไป อ่านไม่รู้เรื่องว่าทำอะไร
5. ชื่อเรื่อง ควรขึ้นต้นด้วยคำนาม เพื่อให้เกิดความไพเราะสละสลวย ที่นิยมกัน คือ มักจะขึ้นด้วยคำว่า การศึกษา การสำรวจ การวิเคราะห์ การเปรียบเทียบ
ชื่อเรื่องวิจัยนับเป็นจุดแรกที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน และทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหารวมทั้งวิธีการดำเนินการวิจัยของผู้วิจัยอีกด้วย ดังนั้นการตั้งชื่อเรื่องวิจัยจึงต้องเขียนให้มีความหมายสั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย มีความชัดเจนทางด้านภาษา ผู้อ่านเห็นแล้วสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าจะทำอะไร ไม่ต้องตีความอีก ไม่เขียนอย่างคลุมเครือ ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงต้องระมัดระวังในการตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้เหมาะสม
อ้างอิง
นพเก้า ณ พัทลุง. (2548). การวิจัยในชั้นเรียน:หลักการและแนวคิดสู่ปฎิบัติ. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ไพทูรย์ เวทการ. (2540). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. ลำปาง : โรงพิมพ์ช่างแดง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น